Butterfly valve มีกี่ประเภท ?
วาล์วผีเสื้อ ( Butterfly Valve ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของของเหลวหรือก๊าซภายในท่อ โดยการทำงานของมันจะใช้แผ่นปีก (disk) ที่ติดอยู่กับเพลาหมุน ซึ่งจะหมุนไปในทิศทาง 90 องศาเพื่อเปิดหรือปิดการไหล วาล์วผีเสื้อเป็นที่นิยมใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น การประปา การขนส่งก๊าซ การผลิตพลังงาน หรือการควบคุมระบบ HVAC เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา ทำให้สามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้ นี่คือคำจำกัดความสั้นๆ แต่ถ้าต้องการอ่านเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ Butterfly valve คืออะไร?
ย้อนกลับมาที่คำถาม Butterfly valve มีกี่ประเภท ? จริงๆแล้วเป็นคำถามที่ค่อนข้างจะตอบยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับผู้ถามว่าจำแนกประเภทของวาล์วผีเสื้อจากอะไร เช่น วิธีการติดตั้ง , วิธีการ Operate , หรือวัสดุที่ใช้ทำตัววาล์ว ดังนั้นวันนี้เราจะมาพาไปเจาะลึกประเภทของ Butterfly valve ทุกแบบ ทุกประเภทการจำแนกกันเลยครับ
ประเภทของ Butterfly valve จำแนกตามวิธีการติดตั้ง
วิธีการจำแนก Butterfly valve ตามวิธีการติดตั้ง เป็นแบบที่นิยม และเป็นชื่อเรียกประเภท butterfly valve มากที่สุด โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ Butterfly valve Wafer type , Butterfly valve Lug type , Butterfly valve Double Flanged , Buttefly valve butt weld
รูปตัวอย่างการติดตั้งประเภทต่างๆ ขอบคุณรูปภาพจาก ZFA Valve
1.Butterfly valve Wafer Type
Wafer Type Butterfly Valve คือ วาล์วผีเสื้อที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนและติดตั้งตรงกลางระหว่างหน้าแปลนทั้งสองข้างของท่อ โดยจะร้อยโบลท์ผ่านหน้าแปลนทั้งสองฝั่งและประกบตัววาล์วไว้ตรงกลาง (ลักษณะเหมือนเวเฟอร์) เป็นวิธีการติดตั้งที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและราคาประหยัด เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบที่ไม่ต้องการการถอดเปลี่ยนหรือบำรุงรักษาบ่อยๆ
- การติดตั้ง: ติดตั้งระหว่างท่อที่มีหน้าแปลน (Flanged)
- ข้อดี: ราคาไม่สูง, ติดตั้งง่าย, น้ำหนักเบา
- การใช้งาน: เหมาะสำหรับระบบท่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่ต้องการการบำรุงรักษาบ่อย
2.Butterfly valve Lug type
Lug Type Butterfly Valve เป็นอีกหนึ่งประเภทที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในระบบที่ต้องการความสะดวกในการบำรุงรักษา เนื่องจากวาล์วประเภทนี้มีขา (lug) โดยจะติดตั้งโดยการร้อยโบลท์ผ่านหน้าแปลนเข้ามาล็อคกับตัวขาวาล์วแต่ละฝั่ง ที่ช่วยให้สามารถติดตั้งและถอดวาล์วได้โดยไม่ต้องถอดท่อทั้งหมด ทำให้สามารถติดตั้งวาล์วได้จากทั้งสองข้างของท่อ ซึ่งสะดวกในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนหรือซ่อมแซม
- การติดตั้ง: ติดตั้งจากทั้งสองข้างของท่อ
- ข้อดี: สามารถถอดหรือบำรุงรักษาวาล์วได้ง่าย โดยไม่ต้องถอดท่อออกจากระบบทั้งหมด
- การใช้งาน: เหมาะสำหรับระบบที่มีการบำรุงรักษาเป็นระยะๆ หรือการใช้งานในระบบที่มีหน้าแปลนทั้งสองด้าน
3.Butterfly valve Double Flanged
Double Flanged Butterfly Valve คือ วาล์วผีเสื้อที่มีการติดตั้งด้วยหน้าแปลนทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยให้วาล์วมีความแข็งแรงทนทานมากขึ้น โดยหน้าแปลนของท่อจะยึดกับหน้าแปลนของวาล์วแต่ละฝั่ง เหมาะในการใช้งานที่มีแรงดันสูงหรือลักษณะการไหลที่ต้องการความแน่นหนาในการปิด-เปิด วาล์วประเภทนี้เหมาะกับระบบท่อที่มีขนาดใหญ่และต้องการความทนทานสูง
- การติดตั้ง: ใช้หน้าแปลนทั้งสองข้าง
- ข้อดี: ทนทาน, เหมาะกับแรงดันสูง
- การใช้งาน: ใช้ในระบบที่มีแรงดันสูงและต้องการความแน่นหนาในการติดตั้ง
4.Weld Butterfly valve หรือ Sanitary valve
Weld Butterfly valve หรือ Sanitary valve คือ วาล์วผีเสื้อที่เชื่อม Connector เข้ากับตัววาล์ว การติดตั้งจึงต้องใช้ Tri clamp ในการล็อคติดตั้งเข้ากับท่อ วาล์วประเภทนี้เหมาะกับงานที่ต้องการความอนามัยสูง เช่น งานอาหารและยา งานทางการแพทย์ หรือที่เรียกกันว่า Food grade นั่นเอง
- การติดตั้ง: ใช้แคล้มล็อคทั้งสองข้าง
- ข้อดี: ถอดล้างทำความสะอาดได้ง่าย
- การใช้งาน: ใช้ในงาน sanitary อาหารและยา งานทางการแพทย์
ประเภทของ Butterfly valve จำแนกตามวิธีการเปิด-ปิด (Operate)
วิธีการจำแนก Butterfly valve ตามวิธีการเปิด-ปิด โดยทั่วไปวาล์วผีเสื้อจะใช้การเปิดปิดแบบด้ามโยก แต่จริงๆแล้วจะมีทั้งหมด 4 แบบ คือ
- Butterfly valve แบบด้ามโยก ( Lever type )
- Butterfly valve แบบพวงมาลัย ( Gear operate )
- Butterfly valve แบบหัวขับลม ( Pneumatic Actuator )
- Butterfly valve แบบหัวขับไฟฟ้า ( Electric Actuator )
-
Butterfly valve แบบมือโยก
จะมีด้ามโยกสำหรับใช้เปิดปิด ซึ่งก็คือการใช้งานแบบแมนนวลนั่นเอง เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะกับงานทั่วไป ข้อเสียคือไม่เหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด หรือวาล์วขนาดใหญ่ๆ เนื่องจากโยกเปิดปิดได้ยากนั่นเอง
จะเป็นการทำงานแบบแบบนวลเหมือนแบบมือโยก แต่ใช้การหมุนพวงมาลัยแทน ข้อดีคือสามารถใช้กับวาล์วที่มีขนาดใหญ่ได้ ไม่หนักเกินไป ข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าแบบมือโยก
เป็น Butterfly valve แบบออโตเมชั่น ที่จะใช้ระบบลมนิวเมติกส์ มาบังคับ Butterfly valve ให้เปิดปิดตามต้องการ ข้อดีคือสะดวก สามารถเปิดปิดได้ตามเวลาที่ต้องการหรือแม้แต่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก ข้อเสียคือต้องมีระบบนิวเมติกส์อยู่แล้ว หากไม่มีจะมีอุปกรณ์ตามมาเยอะ และราคาสูงกว่า 2 แบบแรก
-
Butterfly valve แบบหัวขับไฟฟ้า
จะเป็นระบบออโตเมชั่น เหมือนหัวขับลม แต่จะใช้ไฟฟ้าในการขับแทน ไม่มีลมเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อดีคือสามารถใช้งานได้แม้ไม่มีระบบนิวเมติกส์ แต่ก็แลกมาด้วยราคาหัวขับที่ค่อนข้างสูงครับ
ประเภทของ Butterfly valve จำแนกตามวัสดุ
มาถึงการจำแนก Butterfly valve แบบสุดท้าย ซึ่งเราจะเรียกตามชื่อวัสดุที่ใช้ผลิต วัสดุในที่นี้เราจะพูดถึงตัวบอดี้เป็นหลักนะครับ โดยทั่วไปในตลาด จะมีทั้งหมดหลายวัสดุ เช่น เหล็กหล่อ , เหล็กเหนียว , อลูมิเนียม , สแตนเลส ไปจนถึงพลาสติกอย่างเช่น PVC , UPVC , CPVC ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งานแต่ละประเภท ซึ่งในส่วนนี้เราจะลงรายละเอียดในบทความถัดไปอีกทีนะครับ
สรุป
ตอบคำถามคาใจกันไปเรียบร้อยแล้วนะครับ ว่า Butterfly valve มีทั้งหมดกี่ประเภท เราจะเห็นว่ามีค่อนข้างเยอะ ดังนั้นผู้ใช้งานควรทำความเข้าใจ ข้อดีข้อเสีย ของแต่ละประเภท เพื่อเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับหน้างานแต่ละแบบนะครับ หรือถ้าเลือกไม่ถูกสามารถปรึกษากับทาง UdySupply ตัวแทนจำหน่าย Butterfly valve Arita และ Valve ประเภทอื่นๆได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายครับ