การทดสอบ Safety Valve คืออะไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง
แนวทางการทดสอบ Safety Valve และ มาตรฐานที่คุณควรรู้
คุณรู้หรือไม่ ? ว่าการทดสอบ Safety Valve นั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญ ต่อโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในโรงงานที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับแรงดัน ซึ่ง Safety Valve หรือ “วาล์วนิรภัย” ทำหน้าที่จัดการกับแรงดันส่วนเกินในระบบ ป้องกันไม่ให้มีแรงดันมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นการตรวจสอบการทำงานของเซฟตี้วาล์วเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่ทุก ๆ โรงงานอุตสาหกรรมนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ มาดูกันเลยว่าในการทดสอบ Safety Valve นั้นมีวิธีการอะไรบ้าง และมีมาตรฐานการตรวจสอบอย่างไร
การทดสอบ Safety Valve ในโรงงานอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ?
โดยการทดสอบ Safety Valve ในประเทศไทย ที่คุ้นหูกันมากที่สุดจะอ้างอิงจากมาตรฐาน API 527 และ 576 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบแรงดันของ Safety Valve โดยตรง ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบเพื่อให้รู้ว่า ประสิทธิภาพการทำงานของเซฟตี้วาล์วยังดีอยู่ไหม ? เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะการทำงาน และ คุณภาพการดำเนินงานของระบบนั้น ๆ แน่นอนว่า Safety Valve เป็นสิ่งที่ทุก ๆ โรงงานอุตสาหกรรมควรต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นการปฏิบัติตามระบบด้านความปลอดภัย หากละเลยไปอาจส่งผลเสียอันใหญ่หลวงในภายหลัง
แนะนำ 3 ขั้นตอนการทดสอบ Safety Valve ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม
ในการทดสอบ Safety Valve นั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ผลลัพธ์ของการทดสอบนั้นก็จะเหมือน ๆ กัน คือ “ประสิทธิภาพการทำงานของวาล์ว” โดยแต่ละวิธีการทดสอบก็จะมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป พร้อมด้วยวิธีการที่อาจแตกต่างกันออกไป รวมถึงมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์การตรวจสอบก็จะใช้แตกต่างกัน ซึ่งในประเทศไทยนิยมใช้ 3 วิธีการทดสอบ Safety Valve ดังต่อไปนี้
-
Bench Test
เริ่มด้วยการทดสอบแบบ Bench Test หรือจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า “Pop-test” เป็นการทดสอบเพื่อเช็คว่า Safety Valve สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการหรือไม่ เป็นการนำเอาเซฟตี้วาล์วทดสอบในสถานที่ทดสอบ โดยจะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณแรงดันเข้าไปในวาล์ว จนถึงค่า Set Pressure ที่ตั้งเอาไว้ หากวาล์วทำงานได้ตามปกติ ก็ถือว่าผ่านการทดสอบ การทดสอบในรูปแบบนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยม เพราะมีความแม่นยำสูง ใช้ระยะเวลาการทดสอบไม่นาน และยังสามารถตรวจสอบการรั่วซึมของวาล์วเพิ่มเติมได้อีกด้วย
-
In-Situ Testing
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการ Pop-test แต่การทดสอบ In-Situ Testing จะเป็นการทดสอบในสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะใช้การทดสอบในสถานที่จริง หรือจำลองสถานการณ์จริง ๆ ขึ้นมา แน่นอนว่าจะต้องเสียเวลาในการเตรียมการอยู่พอสมควร ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เป้าหมายของการตรวจสอบ ก็จะเป็นการเช็คว่า Safety Valve ทำงานได้ดีไหม สามารถเปิดได้ทันทีเมื่อแรงดันถึงค่า Set Pressure หรือไม่ มักจะใช้สำหรับวาล์วที่ไม่สามารถถอดออกมาตรวจสอบได้โดยง่าย
-
Leak Test
สุดท้ายก็จะเป็นการตรวจสอบ Leak Test หรือ “ตรวจสอบการรั่วไหล” โดยจะอ้างอิงจากมาตรฐาน API 527 ในการตรวจสอบจะใช้การจำลองสถานการณ์ เพื่อเช็คว่าขณะที่วาล์วทำการปิดตัวลงนั้น มีการรั่วซึมออกมาหรือไม่ หากเป็นของเหลวก็จะมีการตรวจปริมาณของเหลวที่รั่วไหลออกมา ในส่วนของก๊าซก็จะเป็นการเทสกับฟองอากาศที่รั่วไหลออกมา ถ้ามีปริมาณการรั่วไหลอยู่ในเกณฑ์ที่เล็กน้อย ตามมาตรฐาน API 527 กำหนดเอาไว้ ก็จะถือว่าผ่านการทดสอบ ซึ่งการตรวจสอบก็จะมีความละเอียดที่แตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
บทส่งท้าย
ในการทดสอบ Safety Valve แต่ละวิธี ก็จะมี ผลลัพธ์ และ วัตถุประสงค์ ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการเลือกวิธีการทดสอบก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต่างกันออกไปของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานด้านความปลอดภัย งบประมาณ หรือ ระยะเวลาการทดสอบ สุดท้ายนี้หากคุณอยากได้ Valve มาตรฐานดี ผ่านการทดสอบมาตรฐานมาการใช้งานมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว UDY SUPPLY ยินดีพร้อมให้บริการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @UdySupply หรือ โทร : 098-905-9805
Pingback: เกร็ดความรู้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Safety Valve