กลีเซอรีน
กลีเซอรีน(Glycerin) คือ ของเหลวสีใส ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน ลักษณะเนื้อข้นคล้ายน้ำมัน ในบางอุตสาหกรรมจึงเรียกว่าน้ำมันกลีเซอรีน นิยมใช้เป็นสารประกอบในการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคของมนุษย์ เช่น การผลิตยา เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง เครื่องอาบน้ำ เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณลักษณะที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ สะอาด อ่อนโยนและปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์
ประโยชน์ของกลีเซอรีน
1.การใช้งานเป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่ง หมายถึงการนำกลีเซอรีนไปเป็นส่วนผสม และผ่านกระบวนการผลิตต่างๆ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา มีการใช้งานในหลายอุตสาหกรรม เช่น
- ในเชิงการแพทย์ ใช้เป็นส่วนผสมในการทำยาเหน็บทวาร ยาระบาย ยารักษาโรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น แผลไฟลวก แผลจากของมีคมเป็นต้น
- อาหารและเครื่องดื่ม มีการใช้ประโยชน์เป็นสารกักความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารแห้งเกินไป และอีกกรณีหนึ่งคือใช้เป็นสารให้ความหวานแทนเนื่องจากเป็นสารประกอบของน้ำตาลกลูโคส มักพบใน น้ำอัดลม ลูกอม สุรา เป็นต้น
- เครื่องอาบน้ำ พบมากในสบู่และโลชั่น เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติคล้ายมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ คือให้ความชื้น ปกป้องผิวไม่ให้แห้ง ปลอดภัยต่อผิวหนัง และยังมีใช้เป็นส่วนประกอบใน ยาสระผม ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
- เครื่องสำอาง แทบทุกชนิดมีส่วนผสมของกลีเซอรีน เนื่องช่วยสามารถดูดและกักเก็บความชื้นให้แก่ผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง อีกทั้งยังทำให้ตัวเครื่องสำอางมีความนุ่มลื่นน่าใช้
2.กลีเซอรีนบริสุทธิ์ การนำกลีเซอรีนล้วนที่ไม่ผ่านการผสมไปใช้ประโยชน์
- ใช้ในอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตต่างๆ โดยใช้เป็นสารหล่อลื่นและลดแรงกระแทก เช่น การเติมกลีเซอรีนลงใน pressure gauge เพื่อให้เข็มชี้วัดลดแรงกระแทกลงและทำให้นิ่งเพื่อให้อ่านค่าได้ง่ายขึ้น
Pressure Gauge คืออะไร ? - ใช้ทาลงบนมือหรือผิวหนังส่วนที่แห้ง จะช่วยให้ทำให้ผิวหนังนุ่มลื่นชุ่มชื้น
- ใช้เช็ดใบไม้ จะช่วยใบไม้สะอาด และเป็นเงางามดูสวยขึ้น
- ใช้แช่ใบไม้ที่นำมาตกแต่งบ้านจะช่วยถนอมให้ใบไม้รักษารูปทรงและความสดอยู่ได้นานขึ้น
- ใช้ทำความสะอาดสิ่งต่างๆ เช่น กระจก คราบกาแฟ คราบถ่าน เช็ดละลายน้ำแข็ง หรือแม้กระทั่งซักผ้าขนสัตว์
คุณลักษณะของกลีเซอรีน
- ลักษณะทางกายภาย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน เนื้อข้นหนืด
- สูตรทางเคมี C3H8O3
- คุณสมบัติทางเคมีหลากหลาย
- ละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ไม่ละลายในอีเทอร์และน้ำมัน
- จุดหลอมเหลว 18 °C
- จุดวาบไฟ 177 °C , จุดติดไฟ 204 °C , จุดเดือด 290 °C
- มวลอะตอม 92.09382 g/mol
- ความหนาแน่น 1.261 g/cm³
- ความหนืด 1.2 pa-s
- แรงตึงผิว 63.4 ml.n/m
กระบวนการผลิต กลีเซอรีน
- ได้จากการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล โดยเป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการ Saponification
- ได้จากกระบวนการ Hydrolysis ของน้ำมันจากพืชเช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์
- เกิดจากระบวนการ Transesterification
Pingback: Pressure Gauge คือ
Pingback: วิธีอ่านเกจวัดแรงดัน