Vacuum Gauge คืออะไร ?
Vacuum Gauge คือ เกจที่ใช้วัดค่าแรงดันติดลบ หรือ แรงดันสุญญากาศนั่นเอง จะพบได้ในระบบสุญญากาศโดยใช้เพื่อวัดปริมาณของแรงดูด เพื่อให้สามารถประเมินประสิทธิภาพ และควบคุมการทำงานในระบบอย่างเหมาะสม พบได้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การบิน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้กระทั่งการทดลองในห้องปฏิบัติการ
Vacuum Gauge มีกี่แบบ
โดยส่วนมากจะแบ่ง vacuum gauge ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ โดยใช้เกณฑ์การแสดงค่าเป็นหลัก นั่นก็คือ การแสดงค่าแบบเข็ม (Bourdon Gauge)และการแสดงค่าเป็นตัวเลข(Digital gauge)
-
Bourdon Gauge
หรือเกจแบบเข็ม จะใช้เข็มชี้ไปที่ตัวเลขที่วัดค่าได้ เพื่อเป็นการแสดงปริมาณ ข้อดีของเกจวัดสุญญากาศแบบนี้คือมีราคาถูก,ติดตั้งได้ง่าย แต่อาจจะวัดค่าได้ไม่แม่นยำเท่าเกจแบบดิจิตอล
-
Digital Gauge
หรือเกจแบบดิจิตอล จะแสดงปริมาณแรงดันสุญญากาศที่วัดค่าได้ออกมาเป็นตัวเลข ทำให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าได้ง่าย นั่นจึงเป็นข้อดีของเกจแบบดิจิตอล คือใช้งานง่าย ความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนน้อย แต่ข้อเสียคือมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเกจแบบเข็ม
ซึ่งเกจวัดสุญญากาศแต่ละประเภทเองก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เราจะเลือกใช้ Vacuum gauge ซักตัวนึงนั้นควรคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมของหน้างานเป็นหลัก
หลักการทำงานของ Vacuum Gauge
หลักการพื้นฐานของเกจวัดแรงดันสุญญากาศ จะอาศัยหลักการการขยายและหดตัวของขดทองแดงในบูร์ดองเกจ เช่นเดียวกับ Pressure gauge โดยการวัดจะทำการวัดเทียบกับแรงดันบรรยากาศปกติ
หน่วยของแรงดันสุญญากาศ (Vacuum Unit)
โดยส่วนมากที่เราพบในอุตสาหกรรมการผลิต จะเป็นหน่วย bar , mbar , inhg(นิ้วปรอท) , mmhg(มิลลิเมตรปรอท) ซึ่งเป็นหน่วยเดียวกันกับหน่วยวัดแรงดัน แต่ค่าที่วัดได้จะเป็นค่าติดลบเมื่อเทียบกับแรงดันบรรยากาศ ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก หน่วยวัดแรงดัน
ทำไมถึงต้องวัดค่า Vacuum ?
อย่างที่ทราบกันว่า Vacuum Gauge คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่วัดปริมาณ แรงดันสุญญากาศเทียบกับแรงดันบรรยากาศปกติ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าและควบคุมปริมาณของแรงดันสุญญากาศได้ รวมไปถึงหากมีการรั่วไหลของระบบ ก็สามารถทราบได้อีกด้วย
จึงทำให้ระบบทำงานในระดับที่เหมาะสมที่สุด การตรวจสอบแรงดันทำให้สามารถปรับเปลี่ยนระบบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพได้ ตัวอย่างเช่น หากแรงดันต่ำเกินไป อาจจำเป็นต้องปรับปั๊มสุญญากาศหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เกิดความเสียหาย
สุดท้ายไม่ว่าจะใช้เกจประเภทใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องสอบเทียบเกจเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่า เกจสามารถอ่านค่าได้แม่นยำ การสอบเทียบต้องเป็นการเปรียบเทียบค่าที่อ่านได้ของเกจกับมาตรฐานที่ทราบ และปรับค่าเริ่มต้นตามความจำเป็นเพื่อให้กลับมาอ่านค่าได้ถูกต้องแม่นยำ
สรุป
เกจวัดสุญญากาศเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับระบบใดก็ตามที่ทำงานเกี่ยวกับสุญญากาศ สามารถช่วยระบุการรั่วไหล รับรองประสิทธิภาพสูงสุด แต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกอุปกรณ์การใช้งานให้เหมาะสม และบำรุงรักษาอุปกรณ์เป็นประจำ
Pingback: compound gauge คืออะไร ?